{Recent News} ศุกร์สมุนไพร EP.014

{Recent News}
ศุกร์สมุนไพร EP.014
.
แหล่งสืบค้นข้อมูลสมุนไพร
ในประเทศไทยมีการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของสมุนไพรไทยจึงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ สวนสมุนไพรขึ้นในประเทศในปีพุทธศักราช 2522 โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการรวบรวมศึกษาค้นคว้า ในเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพรทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการทางชีววิทยา ทางการแพทย์ การบำบัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพืชที่เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดโครงการพระราชดำริ สวนป่าสมุนไพรขึ้นมากมายหลายแหล่ง อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อหาสาระสำคัญของสมุนไพรที่มีพิษ ทางเภสัชมาสกัดเป็นยาแทนยาสังเคราะห์ที่ใช้กันในปัจจุบัน
จากพระราชดำริข้างต้น ทำให้เริ่มมีการจัดทำฐานข้อมูลสมุนไพรขึ้นและประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้เริ่มมีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลจากในรูปแบบหนังสือและเอกสารมาสู่รูปแบบดิจิทัลเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูล และเมื่อระบบฐานข้อมูลและอินเทอร์เน็ตได้เป็นที่แพร่หลายอย่างในปัจจุบัน คลังข้อมูลสมุนไพรจึงถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบในฐานข้อมูลและเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ เหล่านี้ได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันประเทศไทยมีหลายหน่วยงานได้พัฒนาคลังข้อมูลสมุนไพรขึ้นเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้สมุนไพร บทความนี้จึงได้รวบรวมแหล่งสืบค้นข้อมูลสมุนไพรของประเทศไทยเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาความรู้ต่างๆ ได้แก่
1. หน่วยบริการข้อมูลสมุนไพร : ฐานข้อมูลสมุนไพรไทย พืชพิษ จุลสารสมุนไพร
จัดทำโดย สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
2. MedThai : ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยจีน พร้อมสรรพคุณมากกว่า 1,800 ชนิด
จัดทำโดย MedThai.com
3. Thaicrudedrug : ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร
จัดทำโดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
4. Phargarden : ฐานข้อมูลสมุนไพร
จัดทำโดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5. ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร : ฐานข้อมูลงานวิจัยสมุนไพรของไทย และข้อมูลพืชพิษ
จัดทำโดยสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
6. MED HERB GURU : ระบบศูนย์กลางข้อมูลสมุนไพร เป็นบทความสั้นๆ และ Infographic
จัดทำโดยสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์การเภสัชกรรม
7. สมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน : ข้อมูลสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน
จัดทำโดยสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
8. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
9. PHTIC-PERDO : ฐานข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร รวมถึงสมุนไพร
จัดทำโดย ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย 8 แห่ง
10. KuiHerb : แหล่งรวบรวม เผยแพร่ และแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร
11. Hortdoa: Knowledge Plant Diversity : ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช มีข้อมูล GAP พืชสมุนไพรไทย
12. HDC TTM Service : ฐานข้อมูลสถิติการใช้สมุนไพรในโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
13. คลังความรู้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
14. ฐานข้อมูลตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
จัดทำโดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
15. ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยสำหรับการวิจัย
จัดทำโดย สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
16. ฐานข้อมูลสมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้าน : ฐานข้อมูลสมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้าน
จัดทำโดย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
17. ฐานข้อมูลสมุนไพรกัญชง
จัดทำโดย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
.
เรียบเรียงโดย :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษม ตริตระการ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
.
References :
.
ติดตามข่าวสารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ที่ : www.bsru.ac.th และ www.prinfo.bsru.ac.th
—-
ภาพ/ข่าวโดย : เครือข่ายนักประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาสมุนไพรและกัญชาศาสตร์
—-
#BSRURecentNews ศุกร์สมุนไพร EP.014 (Special Episode) #BSRUNews
.
.
>>ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แฟนเพจหลักของมหาวิทยาลัย<<https://www.facebook.com/577793652300928/posts/pfbid02CMHicRX5rikVypGKAH1nuLqfxmWZFPW53jdf3JKHWbYBDYXvSN6qEtRqLuQE6UJVl/?mibextid=cr9u03